วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทความภาษาไทย 5 เรื่อง

ชื่อบทความ : การพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ชื่อผู้แต่ง : รัชตาพร เสนามาตย์1 , สิทธิชัย ดีล้น1, ศรีเพ็ญ พลเดช1

ที่อยู่
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://buajead-ubru.com/Upload/Journal/Journal_42.pdf

ชื่อวารสาร : วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต  ปีที่ : 18  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 65-78  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างการวิจัยประกอบ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1การศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างขั้นตอนที่ 3การนำรูปแบบไปทดลองใช้และ ขั้นตอนที่ 4การประเมินรับรองรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ในการนำไปใช้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร และ คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มี 58 คุณลักษณะ จัดกลุ่มคุณลักษณะเป็น 7 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านนักเรียน ด้านครูและบุคลากร ด้านผู้ปกครองและชุมชน ด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ
2. รูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1การสร้างความตระหนักรับรู้ ส่วนที่ 2 การเรียนรู้และพัฒนา ส่วนที่ 3 การนำไปใช้ และส่วนที่ 4 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
3. การนำรูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ไปทดลองใช้กับโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียนผลปรากฏว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ การนำไปใช้ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด

คำสำคัญ
รูปแบบ คุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

Abstract
The purposes of this research were to develop leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast. The research was comprised of 4 steps: step 1 studying the leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast, step 2 constructing and developing the leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast, step 3 implementing and step 4 evaluating and confirming model of the leadership characteristic model of the school, administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast. The sample was the school administrators teachers and committees of schools under the secondary education service area in the lower northeast by using sampling purpose. The statistics used for data analysis were percentage arithmetic mean, standard deviation.
The research findings were as follows:
1. There were 58 kinds of required qualities of the leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast. However, the required qualities were divided into 7 parts: personality, morality, student teachers and staff parents and community academic, and administration.
2. The leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast was comprised of 4 parts: part 1: acknowledgement and cognition, part 2: learn and develop, part 3: guide the contents to apply, and part 4: conditions of using model.
3. Implementing with 3 schools, it found that there were appropriateness, possibility both in overall and each aspect at the highest level. And 4) The result of the evaluation by the eminent persons on appropriateness, possibility, correctness and implementation both in overall and each aspect was at the highest level.

Keywords
A Model, Leadership Characteristic, Ethics and Good Governance

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=215466




ชื่อบทความ : การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อผู้แต่ง : ดวงเดือน ศิริโท1 , สมานจิต ภิรมย์รื่น1

ที่อยู่
1. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://grad.vru.ac.th/pdf-journal/Journal%2012_2/6%20%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%20%20%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%97%2058-67.pdf

ชื่อวารสาร : วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ปีที่ : 12  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 58-67  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การปฏิบัติ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการณ์การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสายปฏิบัติการสอน จากโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 262 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน โดยแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหา เพื่อหาค่า IOC ได้ค่าตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน และระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา
         ผลการศึกษาพบว่า สภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ หลักธรรมาภิบาล รองลงมาได้แก่ ประสิทธิผลโรงเรียน และการพัฒนาทุนมนุษย์ การศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทุนมนุษย์ หลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 สำหรับแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าประกอบด้วย 1) การพัฒนาบุคคล 2) การพัฒนาวิชาชีพ และ 3) การพัฒนาองค์กร

คำสำคัญ
การพัฒนาทุนมนุษย์ หลักธรรมาภิบาล ประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน

Abstract
         This research aimed to study the status, to explore the characteristics, to
correlation analysis and to study the development of Human capital by principles of
Good Governance toward the private school Effectiveness in the northeastern. Mixed
Method were used to study consisting of three steps. Firstly, study of data provider
status 262 schools. 2 peoples per school. There were three parts of questionnaires
with the IOC between 0.80-1.00 and the reliability was 0.987 and the statistics were
used by percentage, mean and standard deviation. Secondly, analyze the relationship
by Pearson’s Product Moment Correlation. Thirdly, the ways to study the development
of Human capital by principles of Good Governance toward the private school
Effectiveness in the northeastern by interviewing 9 experts and the statistics were
used by Content analysis.
         The results of study are the overview that is high level. By the highest average
is Good governance. The secondary is the Effectiveness of schools and development
of Human capital. The education of correlation level between development of Human
capital, Good Governance, and Effectiveness of schools found that the positive
correlation were in the same direction at statistically significant (p<.01) for the ways of
development of Human capital by principles of Good Governance toward the private
school Effectiveness in the northeastern. The expert’s opinion consist 1) personnel
development 2) professional development and 3) organization development.



Keywords
Human Capital Development, Good Governance, Effectiveness Private school

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=228669




ชื่อบทความ : หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

ชื่อผู้แต่ง : ปณิธาน กมลเศษ1 , เฉลย ภูมิพันธุ์2, สมใจ ภูมิพันธุ์2

ที่อยู่
1. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/54102/82816

ชื่อวารสาร : วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ปีที่ : 14  ฉบับที่ : 66  เลขหน้า : 125-134  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของครู และ 2) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า
         1.  การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละหลักย่อยพบว่าทุกหลักมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักความเสมอภาค หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักการตอบสนอง หลักประสิทธิผล หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิภาพ หลักความโปร่งใส หลักการกระจายอำนาจ และหลักการมีส่วนร่วม
         การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน การเสริมสร้างประสิทธิภาพและธำรงรักษาบุคลากร การรักษาระเบียบวินัย และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ
         2.  การสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าหลักมุ่งฉันทามติ (X10)เป็นตัวแปรพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ดได้ดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .846 และมีอำนาจการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 71.5 เมื่อเพิ่มตัวแปรพยากรณ์ หลักนิติธรรม (X8) หลักการตอบสนอง (X3) หลักความโปร่งใส (X5) หลักภาระรับผิดชอบ (X4) หลักการมีส่วนร่วม (X6) หลักความเสมอภาค (X9) และหลักการกระจายอำนาจ (X7) โดยตัวแปรพยากรณ์ดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 86.5  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ .182, .156, .111, .114, .117, .085, .099, และ .091และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ .218, .168, .116, .125, .128, .097, .101และ .102 ตามลำดับ
         สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
         Y/   = .219+.182X10+.156X8+.111X3+.114X5+.117X4+.085X6+.099X9+.091X7
         .สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
         Z/y=.218Zx10+.168Zx8+.116Zx3+.125ZX5+.128Zx4+.097Zx6+.101Zx9+.102Zx7.

คำสำคัญ


Abstract

        This research was aimed 1) to study the implementation of good governance and personnel administration of private school administrators in Roi Et province as perceived by teachers, and 2) to construct an equation to predict the personnel administration of private school administrators in Roi Et province. The sample was 284 teachers of private schools in Roi Et province. A tool for collecting the data was a 5-point rating scale questionnaire. Data were analyzed using frequencies, percentages, means and standard deviations. For testing the hypothesis, stepwise multiple regression was employed. 
         Results of the study were as follows: 
         1. The implementation of good governance of private school administrators in Roi Et province, in general was implemented at a high level. When considered each factor, it was found that all factors were implemented at a high level. By arranging the means from the most to the least, they were the equity principle, accountability principle, rule of law principle, responsiveness principle, effectiveness principle, consensus oriented principle, efficiency principle, transparency principle, decentralization principle and participation principle, respectively. Personnel administration of private school administrators in Roi Et province, in general was implemented at a high level. When considered each aspect, it was found that all aspects were implemented at a high level. By arranging the means from the most to the least, they were the personnel planning, retention of personnel and promoting efficiency, personnel rules and regulations, and performance evaluation, respectively. 
         2. Constructing an equation to predict personnel administration of private school administrators in Roi Et province, it was found that the consensus oriented principle (X10) of good governance was the best predictor of personnel administration of administrators in private schools in Roi Et province with statistical significance at .01 level. The multiple correlation coefficient (R) was .85 and the power of prediction was 71.50%. When added more predicting variables, the rule of law principle (x8 ), responsiveness principle (x3 ), transparency principle (x5 ), accountability principle (x4 ), participation principle (x6 ), equity principle (x9 ) and decentralization principle (x7 ), it was found that these variables could mutually explain the variance of personnel administration of the private school administrators in Roi Et province for 86.50% with statistical significance at .01 level. The regression coefficients of raw scores were .182, .156, .111, .114, .117, .085, .099 and .091 and the regression coefficients of standard scores were .218, .168, .116, .125, .128, .097, .101 and .102 respectively.
         Prediction equation of raw scores 
         Y / = .219+.182X10+.156X8+.111X3+.114X5+.117X4+.085X6+.099X9+.091X7 
         Prediction equation of standard scores 
         Z / y =.218Zx 10 +.168Zx 8 +.116Zx 3 +.125Z X5 +.128Zx 4 +.097Zx 6 +.101Zx 9 +.102Zx 7

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=223299




ชื่อบทความ : ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษากับความเป็นเลิศในผลลัพท์ด้านบุคลากร

ชื่อผู้แต่ง : จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์1 

ที่อยู่
1. ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/9275/7973

ชื่อวารสาร : วารสารบริหารการศึกษา มศว  ปีที่ : 14  ฉบับที่ : 26  เลขหน้า : 104-117  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอว่า ธรรมาภิบาลเป็นหลักเกณฑ์ในการปกครองบ้านเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยและเป็นแนวทางการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการศึกษานอกจากผู้บริหารต้องใช้เทคนิค ความรู้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานแล้ว การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษาถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องสร้างขึ้นให้เป็นคุณสมบัติประจำตัวและของสถานศึกษาเพื่อให้งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคลากร และงานบริหารทั่วไปมีความเป็นธรรม มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษามีความสัมพันธ์กับความเป็นเลิศในผลลัพท์ด้านบุคลากรเพราะนำไปสู่ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจของบุคลากร บรรยากาศการทำงานและการพัฒนาของบุคลากร



คำสำคัญ
ธรรมาภิบาล, การบริหารการศึกษา, ความเป็นเลิศ, ผลลัพท์ด้านบุคลากร

Abstract
The purpose of the article was to present that good governance is the basis of democracy and ruled the country to organizing society coexist peacefully, accuracy and fairness which leads to sustainable development. In addition to education management, the executives is not use tricks, knowledge, abilities and expertise, but should be used the good governance in education administration because It is very important to build up a management characteristics and schools which makesthe fairness, transparent,accountability and efficiency for theacademic, budget, personnel and general administrative. In addition, good governance in educational administration is related to personnal excellence because it leads to organizational commitment, personal satisfaction, personal development and work atmosphere.


Keywords
Good Governance, Educational Administration, Excellence, Personnel Results

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=205043




ชื่อบทความ : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อผู้แต่ง : สมจิต มุ่งกลาง1 , สุดา ทัพสุวรรณ1, ศิริ เจริญวัย1, สงวนพงศ์ ชวนชม1

ที่อยู่
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://rommayasan.bru.ac.th/?p=498

ชื่อวารสาร : รมยสาร  ปีที่ : 15  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 223-231  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และศึกษา
แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน
มัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 220 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย
แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และ ฉบับที่ 2 แบบสอบถาม
การใช้ปัจจัยการบริหารของโรงเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
และ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) และ จัดประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า
ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยด้านครู (0.52) รองลงมาคือปัจจัยด้านโรงเรียน (0.43) และตัวแปรที่มีอิทธิพล
ทางอ้อมคือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร (0.54) โดยส่งผ่านปัจจัยด้านครู แนวทางการพัฒนาปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครู
ประกอบด้วย สาระการพัฒนา วัตถุประสงค์ วิธีการหรือกิจกรรม และการประเมินผล


คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล

Abstract
         The purposes of this research were to study administration factors affecting the administration
according to the principles of good governance and study the ways to develop the
factors that affected the administration according to the principles of good governance of secondary
schools. The research samples were 220 secondary schools in the Northeastern Region. The informants
were 1,320 teachers and administrators. Data were collected by two sets of questionnaire and the
focus group consisting of 9 scholars. The results revealed that factors which directly and positively
affected the administration according to the principles of good governance of secondary schools
in the Northeastern Part were teacher and school factors. The results also show that the administrator
factors indirectly and positively affected the administration according to the principles of
good governance through the path of teacher factor. Ways to develop the school and teacher
factors consisted of developing matters, purposes, methods or activities and assessment.

Keywords
Administrative Factors, Administration according of Good Governance

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=206137

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น