วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ 5 เรื่อง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 272 คน จากสถานศึกษาจำนวน 272 แห่ง ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีความเป็นธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. อายุของผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นธรรมาภิบาล 3. ประสบการณ์การบริหาร กับความเป็นธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีความสัมพันธ์กับทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ที่มา : http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=9211&query=%B8%C3%C3%C1%D2%C0%D4%BA%D2%C5%20&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-30&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=12&maxid=443




ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผล ต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ รองลงมา คือ ด้านเกิดประโยชน์สุข ของประชาชน และด้านมีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ และน้อยที่สุด คือ ด้านประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ 2. ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รองลงมา คือ ด้านการประเมินผล และการตรวจสอบ และน้อยที่สุด คือ ด้านการตัดสินใจ 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านการวางแผน (r = .963) ด้านการตัดสินใจ (r = .905) ด้านการประเมินผล และการตรวจสอบ (r = .899) ด้านการมีส่วนร่วม (r = .892) และด้านความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (r = .890) 4. เมื่อใช้การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีกลุ่มตัวแปร 4 ตัวที่มีนัยสำคัญ ของการพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 คือ ด้านการวางแผน ( ) ด้านการตัดสินใจ ( ) ด้านการมีส่วนร่วม ( ) ด้านการประเมินผล และการตรวจสอบ ( )โดยกลุ่มตัวแปรเหล่านี้ มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ ร้อยละ 90.50 ซึ่งสามารถเขียนสมการในรูปคะแนนดิบ ( ) และในรูปคะแนนมาตรฐาน ( ) ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = .351 + .410( ) + .365( ) + .135( ) + .128( ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .436( ) + .359( ) + .158( ) + .136( )






การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 368 คนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียวหรือการทอสอบด้วยสถิติเอฟ เมื่อมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบ ดังนี้ 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ส่วนใหญ่บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมและรองลงมาได้แก่ หลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบหลักความคุ้มค่าและหลักความโปร่งใส 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านหลักความโปร่งใส ( = 4.46) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 4.41) ด้านหลักความรับผิดชอบ ( = 4.41) ด้านหลักคุณธรรม ( = 4.40) ด้านหลักความคุ้มค่า ( = 4.39) และด้านหลักนิติธรรม ( = 4.32) 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารครูผู้และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 พบว่า โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรมด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบและด้านหลักความคุ้มค่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างไปจากครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนด้านหลักนิติธรรมไม่แตกต่างกัน





ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกผู้บริหารกับหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ1)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกผู้บริหารกับหลักธรรมา ภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับจิตสำนึกผู้บริหารในภาพรวม 3) เพื่อศึกษาระดับการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในภาพรวม 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับจิตสำนึกผู้บริหารระดับสูงกว่าปริญญาตรี และปริญญาตรี 5) เพื่อเปรียบเทียบระดับจิตสำนึกผู้บริหาร ประสบการณ์มาก และประสบการณ์น้อย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 272 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 100 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตสำนึกผู้บริหาร มีความสัมพันธ์กับหลักธรรมาภิบาล ในระดับมาก 2) ระดับจิตสำนึกผู้บริหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ระดับการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีระดับจิตสำนึกผู้บริหารสูงกว่า ปริญญาตรี และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01 5) ผู้บริหารที่มีประสบการณ์มาก มีระดับจิตสำนึกผู้บริหารสูงกว่า ประสบการณ์น้อย และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ




การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์

        การวิจัยเรื่องการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตาม ธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามธรรมาภิบาล ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ โรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จำนวน ๑๔๕ คน ซึ่งใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมติฐานค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Different: LSD.) ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม พบว่า บุคลากรของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิมมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๘) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการบริหารงานตามธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามบุคลากรที่มีเพศต่างกัน ที่มีอายุต่างกัน มีตำแหน่งแตกต่างกัน ประสบการณ์การทำงานต่างกัน และมีระดับการศึกษาต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันทุกด้านจึงปฏิเสธสมติฐานที่ตั้งไว้ ศึกษาปัญหาอุปสรรค์ และข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหลักนิติธรรม ผู้บริหารไม่ควรเลือกใช้งาน เลือกปฏิบัติในแต่ละบุคคล ผู้บริหารควรบริหารงานด้วยหลักเหตุผล ด้านหลักคุณธรรม ควรยกเลิกระบบอุปถัมภ์ และพิจารณาตามผลงานและความสามารถ หลักความโปร่งใส ควรมีการตรวจสอบได้ในทุกกรณี ควรมีการบริหารงานอย่างโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอรัปชั่น ด้านหลักมีส่วนร่วม ควรให้บุคลากรหรือข้าราชการมีส่วนร่วมในการเลื่อนตำแหน่งกับผู้บังคับบัญชา ด้านหลักความรับผิดชอบ ควรที่จะมอบหมายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน และเหมาะสมกับตำแหน่งงาน ควรช่วยกันรับผิดชอบทรัพย์สินของหน่วยงาน ด้านหลักความคุ้มค่า ผู้บริหารควรยึดหลักการบริหารธรรมาภิบาลอยู่เสมอ การปฏิบัติงานควรยึดหลักความไม่ประมาทเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น