วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

ภาพจาก pixlr





ภาพจาก pixlr ที่ใส่ effect

where is the best teacher ครูดีที่ผมรัก...

ผลงานจาก photofunia






เชิญชวนมาดูblog กันนะจ๊ะ...
QR Code blogger วัชรพงษ์ เนาวรัตน์ จ้าาา

Theories of educational administration

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทความต่างประเทศ

The Model Design of Educational Administration Safety--Based on Intrusion Detection Technology

 

Abstract:
Security and stability of educational administration system in university is an important guarantee for information construction and orderly operation of teaching. Based on the analysis of university academic management system and characteristics of information security, this paper firstly analyses the current mainstream of information security model, and the college educational administration online timetable system, query results system, test management system and teaching system, then this paper establishes a whole work model on the basis of intrusion detection techniques and proposes to establish a data warehouse of intrusion detection. Furthermore, it collects agreement packet with sniffed tool and inputs the data packet into data warehouse, so it can deal with data by data mining techniques and founding the invasion actions of the innovational administrative system. Ultimately, we can establish an efficient and stable system to protect educational administration, and provide useful suggestions for universities' educational administration information security.
Date of Conference: 19-19 Dec. 2008
Date Added to IEEE Xplore26 June 2009
Print ISBN: 978-0-7695-3560-9
INSPEC Accession Number: 10733200
Publisher: IEEE
Conference Location: Wuhan, China


Field of Educational Administration and Its Coevolving Epistemologies

Reference work entry
DOI: https://doi.org/10.1007/978-981-287-588-4_283

Synonyms

The theory and practice of educational administration and management have been arenas of competing intellectual traditions. Related literature elaborates on the strength and weaknesses of various research methods and practices, the corresponding epistemologies and, ultimately, the underlying philosophies of science. This entry opens with a historiography of administration and management studies and the question of whether educational administration and management constitutes a field of study in itself, and, if this is indeed the case, what could possibly be the field’s conditio sine qua non. It is suggested that it has been the very coexistence and coevolution of contentious administrative practices and theories that give way to the field, which continues to be withstood by a tension between scholarly pluralism and an intuitive/instinctive (hence, categorically irrational)...

References

  1. Bates, R. J. (1983). Educational administration and the management of knowledge. Victoria, Australia: Deakin University.Google Scholar
  2. Blount, J. M. (2013). Educational leadership through equity, diversity, and social justice and educational leadership for the privilege imperative: The historical dialectic. In L. C. Tillman & J. J. Scheurich (Eds.), Handbook of research on educational leadership for equity and diversity(pp. 7–21). New York: Routledge.Google Scholar
  3. Bourdieu, P. (1969). Intellectual field and creative project. Social Science Information, 8(2), 89–119. doi:10.1177/053901846900800205.CrossRefGoogle Scholar
  4. Evers, C. W., & Lakomski, G. (2012). Science, systems, and theoretical alternatives in educational administration: The road less travelled. Journal of Educational Administration, 50(1), 57–75. doi:10.1108/09578231211196069.CrossRefGoogle Scholar
  5. Greenfield, T. B. (1986). The decline and fall of science in educational administration. Interchange, 17(2), 57–80. doi:10.1007/BF01807469CrossRefGoogle Scholar
  6. OED. (2012). Oxford English Dictionary: The definitive record of the English languageRetrieved from http://www.oed.com/
  7. Park, J. (2015). Thematic approach to theoretical speculations in the field of educational administration. Educational Philosophy and Theory, 47(4), 359–371. doi:10.1080/00131857.2014.976929CrossRefGoogle Scholar




Mixed methods in educational psychology inquiry

Abstract

Mixed methods research has the potential to advance theory and enhance the usefulness of research findings. However, the success of a mixed methods research inquiry is tied to how well researchers integrate the quantitative and qualitative strands, and to how well researchers address the standards for quality in quantitative, qualitative, and mixed methods. In this introduction article, we define mixed methods research and discuss what mixed methods research can offer to the field of educational psychology. Then we consider what constitutes integration and rigor in mixed methods research and describe three core mixed methods research designs. Following this overview, we briefly introduce each article to this special issue, along with the commentary by Vicki Plano Clark. We also discuss how the use of mixed methods can help address common educational problems including: (a) identifying and exploring socially-situated and contextualized learning processes; (b) providing insights into differences across individuals with respect to educational outcomes; and, (c) building instruments that reflect the experiences of individuals who will be assessed by these instruments. Finally, we close with thoughts on the future of mixed methods research.



The Development of Educational Administration System in China
Yalun, An; Du, Chenguang
International Education Studies, v12 n2 p25-35 2019
China has a long history of education and its educational administration system can be traced back to more than 2,000 years ago. This article focuses on the development of the educational administration system in China through a series of laws, regulations and policies, arguing that China's current educational administration system-the State Council and local governments at various levels are responsible to guide and administer educational work under the principles of administration by different levels and of a division of responsibilities needs to be further extended and reformed to address the new challenges and problems in the era of marketization and internationalization.
Canadian Center of Science and Education. 1120 Finch Avenue West Suite 701-309, Toronto, ON M3J 3H7, Canada. Tel: 416-642-2606 Ext 206; Fax: 416-642-2608; e-mail: ies@ccsenet.org; Web site: http://www.ccsenet.org/journal/index.php/ies
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: Elementary Education; Secondary Education; Higher Education; Postsecondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A
Identifiers - Location: China





A Model of Strategic Educational Administration of Mahachulalongkornrajavidyalaya University 
Suddhipong Srivichai and Chawan Siriwat Master in Education Faculty, Mahachulalongkornrajaidyalay 

Abstract
        Study and research in research Administration of Mahachulalongkornrajavidyalaya University research project 1) strategic plan of Mahachulalongkornrajavidyalaya University 2) development of educational management model phramongkutklao college of commerce, suan sunandha Rajabhat university, preventive and suppression of trafficking college, indepth interview with 15 executives / group and group discussion.(Discussion group discussion) related people. The results showed that the strategic management analysis of Mahachulalongkornrajavidyalaya University was conducted by academic planning curriculum development, curriculum management, curriculum monitoring and evaluation, curricula and curriculum development every 5 years, according to the deadlines, personnel development, training development. Human resources promotion, personnel development, academic staff, personnel involved in systematic management. Human resources development Planning for morale creates pain by dedicating to managing the task. GIS Management in Bangkok and its Vicinity innovative Budget Guidelines The development of the strategic education management model of Mahachulalongkornrajavidyalaya University found that there were management strategies by targeting learning by developing teachers and students through creative thinking, research planning, and research. Academic Educational development, instructional management, measurement, evaluation, collaboration with other organizations in academic development, evaluation, collaboration with other organizations in academic development can be used in a variety of ways. Teaching and using systematically, everyone in involved in strengthening professional and organizations in academic development can be used in a variety of ways. Teaching and using systematically, everyone is involved in strengthening professional and organizational development. Designing a common system without the need for budget determined by the strategic plan, teaching atmosphere in both classroom and classroom environment. Good media in an innovative, state-ofthe-art device based on state budget. Problems and Suggestions the strategic management model of Mahachulalongkornrajavidyalaya University found that some academic development was not consistent with curriculum development. Shortage of education and packaging both at home and abroad. Human Resource Management, Personnel Management, Marketing and Marketing Volunteer suggestions should focus on the recruitment and development of modern personnel, working networks of other institutions, both public and private, with those who believe. Almost all expected care systems and income statements have problems in the classroom and many interesting locations. What should be taken into account in the operation of the company.

Keywords : A Model of Educational Administration, Strategic, Mahachulalong kornrajavidyalaya University 

link : http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/ijbe/article/download/2769/2064





บทความภาษาไทย 5 เรื่อง

ชื่อบทความ : การพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ชื่อผู้แต่ง : รัชตาพร เสนามาตย์1 , สิทธิชัย ดีล้น1, ศรีเพ็ญ พลเดช1

ที่อยู่
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://buajead-ubru.com/Upload/Journal/Journal_42.pdf

ชื่อวารสาร : วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต  ปีที่ : 18  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 65-78  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างการวิจัยประกอบ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1การศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างขั้นตอนที่ 3การนำรูปแบบไปทดลองใช้และ ขั้นตอนที่ 4การประเมินรับรองรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ในการนำไปใช้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร และ คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มี 58 คุณลักษณะ จัดกลุ่มคุณลักษณะเป็น 7 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านนักเรียน ด้านครูและบุคลากร ด้านผู้ปกครองและชุมชน ด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ
2. รูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1การสร้างความตระหนักรับรู้ ส่วนที่ 2 การเรียนรู้และพัฒนา ส่วนที่ 3 การนำไปใช้ และส่วนที่ 4 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้
3. การนำรูปแบบคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ไปทดลองใช้กับโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียนผลปรากฏว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ การนำไปใช้ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด

คำสำคัญ
รูปแบบ คุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

Abstract
The purposes of this research were to develop leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast. The research was comprised of 4 steps: step 1 studying the leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast, step 2 constructing and developing the leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast, step 3 implementing and step 4 evaluating and confirming model of the leadership characteristic model of the school, administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast. The sample was the school administrators teachers and committees of schools under the secondary education service area in the lower northeast by using sampling purpose. The statistics used for data analysis were percentage arithmetic mean, standard deviation.
The research findings were as follows:
1. There were 58 kinds of required qualities of the leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast. However, the required qualities were divided into 7 parts: personality, morality, student teachers and staff parents and community academic, and administration.
2. The leadership characteristic model of the school administrators to strengthen ethics and good governance in schools under the secondary education service area in the lower northeast was comprised of 4 parts: part 1: acknowledgement and cognition, part 2: learn and develop, part 3: guide the contents to apply, and part 4: conditions of using model.
3. Implementing with 3 schools, it found that there were appropriateness, possibility both in overall and each aspect at the highest level. And 4) The result of the evaluation by the eminent persons on appropriateness, possibility, correctness and implementation both in overall and each aspect was at the highest level.

Keywords
A Model, Leadership Characteristic, Ethics and Good Governance

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=215466




ชื่อบทความ : การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อผู้แต่ง : ดวงเดือน ศิริโท1 , สมานจิต ภิรมย์รื่น1

ที่อยู่
1. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://grad.vru.ac.th/pdf-journal/Journal%2012_2/6%20%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%20%20%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%97%2058-67.pdf

ชื่อวารสาร : วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ปีที่ : 12  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 58-67  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การปฏิบัติ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการณ์การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสายปฏิบัติการสอน จากโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 262 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน โดยแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหา เพื่อหาค่า IOC ได้ค่าตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน และระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา
         ผลการศึกษาพบว่า สภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ หลักธรรมาภิบาล รองลงมาได้แก่ ประสิทธิผลโรงเรียน และการพัฒนาทุนมนุษย์ การศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทุนมนุษย์ หลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 สำหรับแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งเสริมประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าประกอบด้วย 1) การพัฒนาบุคคล 2) การพัฒนาวิชาชีพ และ 3) การพัฒนาองค์กร

คำสำคัญ
การพัฒนาทุนมนุษย์ หลักธรรมาภิบาล ประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน

Abstract
         This research aimed to study the status, to explore the characteristics, to
correlation analysis and to study the development of Human capital by principles of
Good Governance toward the private school Effectiveness in the northeastern. Mixed
Method were used to study consisting of three steps. Firstly, study of data provider
status 262 schools. 2 peoples per school. There were three parts of questionnaires
with the IOC between 0.80-1.00 and the reliability was 0.987 and the statistics were
used by percentage, mean and standard deviation. Secondly, analyze the relationship
by Pearson’s Product Moment Correlation. Thirdly, the ways to study the development
of Human capital by principles of Good Governance toward the private school
Effectiveness in the northeastern by interviewing 9 experts and the statistics were
used by Content analysis.
         The results of study are the overview that is high level. By the highest average
is Good governance. The secondary is the Effectiveness of schools and development
of Human capital. The education of correlation level between development of Human
capital, Good Governance, and Effectiveness of schools found that the positive
correlation were in the same direction at statistically significant (p<.01) for the ways of
development of Human capital by principles of Good Governance toward the private
school Effectiveness in the northeastern. The expert’s opinion consist 1) personnel
development 2) professional development and 3) organization development.



Keywords
Human Capital Development, Good Governance, Effectiveness Private school

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=228669




ชื่อบทความ : หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

ชื่อผู้แต่ง : ปณิธาน กมลเศษ1 , เฉลย ภูมิพันธุ์2, สมใจ ภูมิพันธุ์2

ที่อยู่
1. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด


ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/54102/82816

ชื่อวารสาร : วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ปีที่ : 14  ฉบับที่ : 66  เลขหน้า : 125-134  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามความคิดเห็นของครู และ 2) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า
         1.  การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละหลักย่อยพบว่าทุกหลักมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักความเสมอภาค หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักการตอบสนอง หลักประสิทธิผล หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิภาพ หลักความโปร่งใส หลักการกระจายอำนาจ และหลักการมีส่วนร่วม
         การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน การเสริมสร้างประสิทธิภาพและธำรงรักษาบุคลากร การรักษาระเบียบวินัย และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ
         2.  การสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าหลักมุ่งฉันทามติ (X10)เป็นตัวแปรพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ดได้ดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .846 และมีอำนาจการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 71.5 เมื่อเพิ่มตัวแปรพยากรณ์ หลักนิติธรรม (X8) หลักการตอบสนอง (X3) หลักความโปร่งใส (X5) หลักภาระรับผิดชอบ (X4) หลักการมีส่วนร่วม (X6) หลักความเสมอภาค (X9) และหลักการกระจายอำนาจ (X7) โดยตัวแปรพยากรณ์ดังกล่าวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 86.5  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ .182, .156, .111, .114, .117, .085, .099, และ .091และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ .218, .168, .116, .125, .128, .097, .101และ .102 ตามลำดับ
         สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
         Y/   = .219+.182X10+.156X8+.111X3+.114X5+.117X4+.085X6+.099X9+.091X7
         .สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
         Z/y=.218Zx10+.168Zx8+.116Zx3+.125ZX5+.128Zx4+.097Zx6+.101Zx9+.102Zx7.

คำสำคัญ


Abstract

        This research was aimed 1) to study the implementation of good governance and personnel administration of private school administrators in Roi Et province as perceived by teachers, and 2) to construct an equation to predict the personnel administration of private school administrators in Roi Et province. The sample was 284 teachers of private schools in Roi Et province. A tool for collecting the data was a 5-point rating scale questionnaire. Data were analyzed using frequencies, percentages, means and standard deviations. For testing the hypothesis, stepwise multiple regression was employed. 
         Results of the study were as follows: 
         1. The implementation of good governance of private school administrators in Roi Et province, in general was implemented at a high level. When considered each factor, it was found that all factors were implemented at a high level. By arranging the means from the most to the least, they were the equity principle, accountability principle, rule of law principle, responsiveness principle, effectiveness principle, consensus oriented principle, efficiency principle, transparency principle, decentralization principle and participation principle, respectively. Personnel administration of private school administrators in Roi Et province, in general was implemented at a high level. When considered each aspect, it was found that all aspects were implemented at a high level. By arranging the means from the most to the least, they were the personnel planning, retention of personnel and promoting efficiency, personnel rules and regulations, and performance evaluation, respectively. 
         2. Constructing an equation to predict personnel administration of private school administrators in Roi Et province, it was found that the consensus oriented principle (X10) of good governance was the best predictor of personnel administration of administrators in private schools in Roi Et province with statistical significance at .01 level. The multiple correlation coefficient (R) was .85 and the power of prediction was 71.50%. When added more predicting variables, the rule of law principle (x8 ), responsiveness principle (x3 ), transparency principle (x5 ), accountability principle (x4 ), participation principle (x6 ), equity principle (x9 ) and decentralization principle (x7 ), it was found that these variables could mutually explain the variance of personnel administration of the private school administrators in Roi Et province for 86.50% with statistical significance at .01 level. The regression coefficients of raw scores were .182, .156, .111, .114, .117, .085, .099 and .091 and the regression coefficients of standard scores were .218, .168, .116, .125, .128, .097, .101 and .102 respectively.
         Prediction equation of raw scores 
         Y / = .219+.182X10+.156X8+.111X3+.114X5+.117X4+.085X6+.099X9+.091X7 
         Prediction equation of standard scores 
         Z / y =.218Zx 10 +.168Zx 8 +.116Zx 3 +.125Z X5 +.128Zx 4 +.097Zx 6 +.101Zx 9 +.102Zx 7

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=223299




ชื่อบทความ : ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษากับความเป็นเลิศในผลลัพท์ด้านบุคลากร

ชื่อผู้แต่ง : จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์1 

ที่อยู่
1. ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/9275/7973

ชื่อวารสาร : วารสารบริหารการศึกษา มศว  ปีที่ : 14  ฉบับที่ : 26  เลขหน้า : 104-117  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอว่า ธรรมาภิบาลเป็นหลักเกณฑ์ในการปกครองบ้านเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยและเป็นแนวทางการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการศึกษานอกจากผู้บริหารต้องใช้เทคนิค ความรู้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานแล้ว การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษาถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องสร้างขึ้นให้เป็นคุณสมบัติประจำตัวและของสถานศึกษาเพื่อให้งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคลากร และงานบริหารทั่วไปมีความเป็นธรรม มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารการศึกษามีความสัมพันธ์กับความเป็นเลิศในผลลัพท์ด้านบุคลากรเพราะนำไปสู่ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจของบุคลากร บรรยากาศการทำงานและการพัฒนาของบุคลากร



คำสำคัญ
ธรรมาภิบาล, การบริหารการศึกษา, ความเป็นเลิศ, ผลลัพท์ด้านบุคลากร

Abstract
The purpose of the article was to present that good governance is the basis of democracy and ruled the country to organizing society coexist peacefully, accuracy and fairness which leads to sustainable development. In addition to education management, the executives is not use tricks, knowledge, abilities and expertise, but should be used the good governance in education administration because It is very important to build up a management characteristics and schools which makesthe fairness, transparent,accountability and efficiency for theacademic, budget, personnel and general administrative. In addition, good governance in educational administration is related to personnal excellence because it leads to organizational commitment, personal satisfaction, personal development and work atmosphere.


Keywords
Good Governance, Educational Administration, Excellence, Personnel Results

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=205043




ชื่อบทความ : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อผู้แต่ง : สมจิต มุ่งกลาง1 , สุดา ทัพสุวรรณ1, ศิริ เจริญวัย1, สงวนพงศ์ ชวนชม1

ที่อยู่
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://rommayasan.bru.ac.th/?p=498

ชื่อวารสาร : รมยสาร  ปีที่ : 15  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 223-231  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และศึกษา
แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน
มัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 220 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย
แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล และ ฉบับที่ 2 แบบสอบถาม
การใช้ปัจจัยการบริหารของโรงเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
และ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) และ จัดประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า
ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยด้านครู (0.52) รองลงมาคือปัจจัยด้านโรงเรียน (0.43) และตัวแปรที่มีอิทธิพล
ทางอ้อมคือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร (0.54) โดยส่งผ่านปัจจัยด้านครู แนวทางการพัฒนาปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านครู
ประกอบด้วย สาระการพัฒนา วัตถุประสงค์ วิธีการหรือกิจกรรม และการประเมินผล


คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล

Abstract
         The purposes of this research were to study administration factors affecting the administration
according to the principles of good governance and study the ways to develop the
factors that affected the administration according to the principles of good governance of secondary
schools. The research samples were 220 secondary schools in the Northeastern Region. The informants
were 1,320 teachers and administrators. Data were collected by two sets of questionnaire and the
focus group consisting of 9 scholars. The results revealed that factors which directly and positively
affected the administration according to the principles of good governance of secondary schools
in the Northeastern Part were teacher and school factors. The results also show that the administrator
factors indirectly and positively affected the administration according to the principles of
good governance through the path of teacher factor. Ways to develop the school and teacher
factors consisted of developing matters, purposes, methods or activities and assessment.

Keywords
Administrative Factors, Administration according of Good Governance

ที่มา : http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=206137

บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ 5 เรื่อง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 272 คน จากสถานศึกษาจำนวน 272 แห่ง ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีความเป็นธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. อายุของผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นธรรมาภิบาล 3. ประสบการณ์การบริหาร กับความเป็นธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีความสัมพันธ์กับทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ที่มา : http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=9211&query=%B8%C3%C3%C1%D2%C0%D4%BA%D2%C5%20&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2562-03-30&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=12&maxid=443




ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผล ต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ รองลงมา คือ ด้านเกิดประโยชน์สุข ของประชาชน และด้านมีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ และน้อยที่สุด คือ ด้านประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ 2. ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รองลงมา คือ ด้านการประเมินผล และการตรวจสอบ และน้อยที่สุด คือ ด้านการตัดสินใจ 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านการวางแผน (r = .963) ด้านการตัดสินใจ (r = .905) ด้านการประเมินผล และการตรวจสอบ (r = .899) ด้านการมีส่วนร่วม (r = .892) และด้านความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (r = .890) 4. เมื่อใช้การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มีกลุ่มตัวแปร 4 ตัวที่มีนัยสำคัญ ของการพยากรณ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 คือ ด้านการวางแผน ( ) ด้านการตัดสินใจ ( ) ด้านการมีส่วนร่วม ( ) ด้านการประเมินผล และการตรวจสอบ ( )โดยกลุ่มตัวแปรเหล่านี้ มีอำนาจในการพยากรณ์ได้ ร้อยละ 90.50 ซึ่งสามารถเขียนสมการในรูปคะแนนดิบ ( ) และในรูปคะแนนมาตรฐาน ( ) ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = .351 + .410( ) + .365( ) + .135( ) + .128( ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .436( ) + .359( ) + .158( ) + .136( )






การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 368 คนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียวหรือการทอสอบด้วยสถิติเอฟ เมื่อมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบ ดังนี้ 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ส่วนใหญ่บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมและรองลงมาได้แก่ หลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบหลักความคุ้มค่าและหลักความโปร่งใส 2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านหลักความโปร่งใส ( = 4.46) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 4.41) ด้านหลักความรับผิดชอบ ( = 4.41) ด้านหลักคุณธรรม ( = 4.40) ด้านหลักความคุ้มค่า ( = 4.39) และด้านหลักนิติธรรม ( = 4.32) 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารครูผู้และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 พบว่า โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรมด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบและด้านหลักความคุ้มค่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างไปจากครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนด้านหลักนิติธรรมไม่แตกต่างกัน





ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกผู้บริหารกับหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ1)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกผู้บริหารกับหลักธรรมา ภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาระดับจิตสำนึกผู้บริหารในภาพรวม 3) เพื่อศึกษาระดับการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในภาพรวม 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับจิตสำนึกผู้บริหารระดับสูงกว่าปริญญาตรี และปริญญาตรี 5) เพื่อเปรียบเทียบระดับจิตสำนึกผู้บริหาร ประสบการณ์มาก และประสบการณ์น้อย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 272 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 100 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตสำนึกผู้บริหาร มีความสัมพันธ์กับหลักธรรมาภิบาล ในระดับมาก 2) ระดับจิตสำนึกผู้บริหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ระดับการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีระดับจิตสำนึกผู้บริหารสูงกว่า ปริญญาตรี และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01 5) ผู้บริหารที่มีประสบการณ์มาก มีระดับจิตสำนึกผู้บริหารสูงกว่า ประสบการณ์น้อย และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ




การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์

        การวิจัยเรื่องการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานตาม ธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามธรรมาภิบาล ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาลในโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ โรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จำนวน ๑๔๕ คน ซึ่งใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมติฐานค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Different: LSD.) ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม พบว่า บุคลากรของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิมมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๘) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการบริหารงานตามธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามบุคลากรที่มีเพศต่างกัน ที่มีอายุต่างกัน มีตำแหน่งแตกต่างกัน ประสบการณ์การทำงานต่างกัน และมีระดับการศึกษาต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันทุกด้านจึงปฏิเสธสมติฐานที่ตั้งไว้ ศึกษาปัญหาอุปสรรค์ และข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหลักนิติธรรม ผู้บริหารไม่ควรเลือกใช้งาน เลือกปฏิบัติในแต่ละบุคคล ผู้บริหารควรบริหารงานด้วยหลักเหตุผล ด้านหลักคุณธรรม ควรยกเลิกระบบอุปถัมภ์ และพิจารณาตามผลงานและความสามารถ หลักความโปร่งใส ควรมีการตรวจสอบได้ในทุกกรณี ควรมีการบริหารงานอย่างโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอรัปชั่น ด้านหลักมีส่วนร่วม ควรให้บุคลากรหรือข้าราชการมีส่วนร่วมในการเลื่อนตำแหน่งกับผู้บังคับบัญชา ด้านหลักความรับผิดชอบ ควรที่จะมอบหมายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน และเหมาะสมกับตำแหน่งงาน ควรช่วยกันรับผิดชอบทรัพย์สินของหน่วยงาน ด้านหลักความคุ้มค่า ผู้บริหารควรยึดหลักการบริหารธรรมาภิบาลอยู่เสมอ การปฏิบัติงานควรยึดหลักความไม่ประมาทเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน